Google ?

Google ?
Google คืออะไร น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก และก็มีอีกหลายคนที่ยังรู้จักไม่หมด ว่า Google ทำอะไรได้บ้าง ทุกวันนี้คงได้ยินคำที่พูดติดปากกันประจำว่า "คิดอะไร ไม่ออกถาม Google" ซึ่งก็เป็นอย่างคำกล่าว เพราะเราสามารถใช้ Google ค้นหาข้อมูลที่เราต้องการ ที่เราสงสัย ได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ เพื่อจะนำข้อมุลนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อๆไป ไม่ว่าจะนำไปทำการบ้าน ประกอบการทำงาน หรือ เก็บข้อมูลทางธุรกิจ ก็ตาม นั่นก็เพราะ ทุกคนทราบดีว่า Google คือ Search Engines ที่มีคลังข้อมูลขนาดใหญ่มหึมา หลายคนจะถูกใจหรือไม่ถูกใจกับผลการค้นหาของ Google แต่ก็ลืมไม่ได้ที่จะคิดถึง Google เป็นอันดับแรกๆ หากต้องการหาข้อมูล แม้ว่าทุกวันนี้จะมี Search Engines ตัวอื่นๆ ทั้งใหม่และเก่าที่ทำขึ้นมาต่อสู้กับ Google ก็ตาม เช่น Yahoo Web Search ของค่าย Yahoo หรือไม่ว่าจะเป็น Bing ของค่าย Microsoft และอื่นๆอีกหลายค่าย แต่ก็ยังไม่มีเจ้าไหน ยี่ห้อใด ลบตำนาน Google ในใจหลายๆคนไปได้เลย

ก่อนเรามาทราบกันก่อนว่า Google มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วทำไมต้องชื่อ Google ตาม link นี้เลยครับ

หลังจากที่เรารู้ที่มาที่ไป และตำนาน ต่างๆ ของ Google แล้ว ทีนี้ เรามาดูกันดีกว่าว่า นอกจากความสารถมาด้าน Search Engines ที่เราใช้ในการหาข้อมูลต่างๆแล้วนั้น เจ้า Google ยังสามารถทำอะไรได้อีก หรือมีอะไรให้เราใช้กันบ้างลองมาดูตาม link กันเลยว่ามีอะไรบ้าง

หัวข้อบริการ (คลิกที่หัวข้อเพื่อดูรีวิว) คำอธิบายเพิ่มเติม Link ไปยังบริการของ Google นี้
Google AdSenseหารายได้จาก Googlehttps://www.google.com/adsense/
Google AdWordsลงโฆษณากับ Googlehttps://adwords.google.com/select/
Google Analyticsการวิเคราะห์เว็บระดับธุรกิจhttp://google.com/analytics/
Google Answersหาคำตอบจาก Googlehttp://answers.google.com/
Google Baseส่งข้อมูลผลิตภัณฑ์เข้า Googlehttp://base.google.com/
Google Blog (Blogger)สร้าง Blog กับ Googlehttp://www.blogger.com
Google Blog Searchค้นหา Blog ที่มีข้อมูลที่เราต้องการhttp://blogsearch.google.co.th/
Google Bookmarksรายการเว็บที่เราเก็บไว้http://www.google.com/bookmarks/
Google Books Searchค้นหาหนังสือที่มีข้อมูลที่เราต้องการhttp://books.google.com/
Google Calendarปฏิทิน ตารางนัดหมายบนGooglehttp://google.com/calendar/
Google Chromeบราวเซอร์ดูเว็บของ Googlehttp://www.google.com/chrome/
Google Codeค้นหา Code สำหรับนักพัฒนาhttp://code.google.com/
Google DesktopGoogle บน Desktophttp://desktop.google.com/
Google Directoryไดเรกทอรี่ลิ้งค์บน Googlehttp://www.google.com/dirhp
Google Documentsสร้างเอกสารบน Googlehttp://docs.google.com
Google Earthดูแผนที่บนโลก และสถานที่สำคัญhttp://earth.google.com/
Google Financeเกี่ยวกับข้อมูลในด้านการเงินhttp://finance.google.com/
Google Groupsสร้างกลุ่มสนทนาทางอีเมล์http://groups.google.co.th/
Google Guruสอบถามทุกเรื่องผู้รู้http://guru.google.co.th/guru/
Google Imagesค้นหารูปภาพที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ตhttp://images.google.com/
Google Labsข้อมูลในการทดลองต่างๆhttp://labs.google.com/
Google Mail (Gmail)ฟรีอีเมล์ของ Googlehttps://mail.google.com
Google Mapsแผนที่ภายในประเทศhttp://maps.google.com/
Google Marsดูแผนที่บนดาวอังคารhttp://www.google.com/mar/
Google Mobileใช้ Google บนมือถือhttp://mobile.google.com/
Google Moonดูแผนที่บนดวงจันทร์http://www.google.com/moon/
Google Moviesหาคลิปหนังบน Googlehttp://www.google.com/movies
Google Musicหาเพลงบน Googlehttp://www.google.com/musicsearch
Google Newsหาข่าวบน Googlehttp://news.google.com/
Google Packดาวน์โหลดบริการของ Google เป็นแบบแพคhttp://pack.google.co.th/
Google Photo (PICASA)สร้างอัลบั๊มรูปกับ Googlehttp://picasaweb.google.com
Google Personalized Home(iGoogle)หน้า Google ของฉันhttp://www.google.com/ig
Google Readerทำแมกาซีนออนไลน์ของตัวเองhttp://www.google.com/reader
Google Scholarข้อมูลวิชาการบน Googlehttp://scholar.google.co.th/
Google Shoppingค้นหาสินค้าบน Googlehttp://www.google.com/products
Google Search Historyดูประวัติการเข้าเว็บย้อนหลังhttp://www.google.com/searchhistory
Google Siteสร้างเว็บของท่านบน Googlehttp://sites.google.com/
Google Skyดูระบบจักรวาลhttp://www.google.com/sky/
Google SMSส่ง sms ผ่าน Googlehttp://www.google.com/sms/
Google Talk เครื่องมือแชตของ Googlehttp://talk.google.com/
Google Toolbarสร้าง Toolbar ของ Googlehttp://toolbar.google.com/
Google Transit Trip Plannerวางแผนการเดินทางกับ Googlehttp://www.google.com/transit
Google Translateแปลภาษากับ Googlehttp://translate.google.co.th
Google Videoค้นหาวิดีโอบน Googlehttp://video.google.com/
Google Share Video (Youtube)แชร์วิดีโอบน Googlehttp://www.youtube.com
Google Web APIการเชื่อมต่อกับ Google สำหรับนักพัฒนาhttp://www.google.com/apis/
Google Web Search หาข้อมูลกับ Googlehttp://www.google.com

คิดไม่ถึงใช่ไหมครับ ว่า Google จะมีบริการให้เราใช้มากมาย เยอะแยะ ขนาดนี้ ยังไงผมจะทยอยรีวิว ให้ครบทุกอันนะครับ ว่าแต่ละบริการใช้ทำอะไร และใช้อย่างไรกันบ้าง เผื่อจะมีอันใดอันนึงที่มีประโยชน์ตรงกับความต้องการของท่านและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากใช้ search หาข้อมูลทั่วไปเหมือนทุกๆวัน...

นอกจากนี้ยังมี Project อีกมากมาย ที่ Google กำลังพัฒนา บาง Project ก็ถูกยุบรวมกับอีก Project และยกเลิกไปแล้วบ้างก็มี ซึ่งเราจะไม่ได้เอามาพูดถึง ซึ่งก็ยังมีอีกหลาย Project ทั้งที่พัฒนาออกมาแล้ว และกำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งก็มีข่าวลือออกมาเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น Google OS ระบบปฏิบัติการของ Google ที่ใช้ชื่อว่า "Google Chrome OS" (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://sites.google.com/a/chromium.org/dev/chromium-os) ที่กำลังจะออกมาเผยโฉมในเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจ หรืออีก Project ที่ออกมายลโฉมกันแล้ว ก็คือ ระบบปฏิบัติการบนมือถือที่ชื่อว่า ANDROID (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://code.google.com/android/) ที่กำลังได้รับความนิยม ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google อีกเช่นกัน

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หน้าเว็บแบบแรกของ Google และ Logo แบบต่างๆ


หน้าเว็บแบบแรกของ Google สมัยก่อตั้งแรกๆ และ Logo แบบต่างๆ

หน้าเว็บหน้าแรกที่ Google เริ่มเปิดให้ใช้บริการ ในปี 1998 เป็นแบบนี้



ใครจะไปคิดว่า จนมาถึงปัจจุบันปี 2010 Google จะโด่งดังแบบฉุดไม่อยู่ หน้าเว็บสมัย 2010 เป็นแบบนี้



ซึ่งระหว่างการเดินทาง Google ก็มี Logo แบบต่างๆตามเทศกาลสำคัญๆ สามารถย้อนไปชม Logo ต่างๆของ Google ได้ที่

http://www.google.com/logos/

ยกตัวอย่างเช่น Logo Google นัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 2010 ระหว่าง ฮอนแลนด์ กับ สเปน วันที่ 11 มิถุนายน 2553
Google ก็จะมี Logo เป็นแบบนี้



หากใครสนใจก็ลองย้อนเวลากลับไปเลือกชม Logo ตามช่วงเวลาต่างๆ ของ Google กันได้เลยครับ

ที่มาของคำว่า Google


ที่มาของคำว่า Google
มาจากศัพท์คำว่า Googol

ซึ่ง Googol เป็นศัพท์คณิตศาสตร์ เป็น "จำนวน" ที่มีเลข 1 ตามด้วยศูนย์ 100 ตัว



คำนี้บัญญัติขึ้นโดย Milton Sirotta หลานของนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกา Edward Kasner และได้รับการยอมรับในหนังสือ "Mathematics and the Imagination" โดย Kasner และ James Newman

Google จึงแปลงมาจากศัพท์คำนี้ เพื่อสะท้อนถึงพันธกิจของบริษัทที่จะจัดระเบียบข้อมูลซึ่งสามารถใช้ได้บนเว็บที่มีปริมาณมหาศาลและดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด

ซึ่งจะสังเกตุเห็นโลโก้ของ Google จะชอบใช้ตัว o หลายๆตัว แทนจำนวนหน้าที่ใช้แสดงผลในการค้นหา เปรียบเหมือนเลข 0 ที่ไม่มีวันสิ้นสุดของ Googol แสดงให้เห็นถึงข้อมูลจำนวนมากในคลังข้อมูลของ Google นั่นเอง




. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .


ที่มา:
http://www.google.co.th/intl/th/corporate/

Google เกิดขึ้นได้อย่างไร


Google เกิดขึ้นได้อย่างไร

Google มีจุดเริ่มต้นโดยสองนักศึกษาปริญญาเอก ที่ชื่อ ว่าLarry Page (ลาร์รี่ เพจ) และ Sergey Brin (เซอร์จีย์ บริน)



จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) อีกหนึ่งสุดยอดแห่งมหาวิทยาลัยด้านไอที (จริงๆแล้ว Stanford ก็จัดว่าเป็นอันดับต้นๆของโลกในสาขาอื่นๆอีกมากมาย ด้วยเช่นกัน) มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกจากจะเป็นต้นกำเนิดของสุดยอด 2 ไอเดียออนไลน์ระดับโลกอย่าง Yahoo! และ Google แล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ๆกันอยู่ด้วยซ้ำไป ที่นี่เป็นที่ที่ คุณ John von Neuman (จอห์น วอน นูแมน) คิดและประิดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมที่เหมือนกับที่เราใช้อยู่นี่แหล่ะ เป็นคนแรกของโลก (แม้จะไม่ใช่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกก็ตาม – สับสนมั้ยครับ – คืออย่างงี้ครับ คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกชื่อว่า ENIAC ซึ่งเป็นเครื่องที่มีความซับซ้อนสูง ต่อมาคุณ von Neuman ซึ่งก็ช่วยงานในการสร้างคอมพิวเตอร์ ENIAC อยู่ด้วย แกเสนอว่า เราน่าจะแยกส่วนของคอมพิวเตอร์ออกเป็น หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยรับเข้าและส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์เครื่องแรก และเป็นสถาปัตยกรรมที่เรายังใช้มาอยู่จนในปัจจุบัน หลายสถาบันก็เลยยกย่องให้ von Neuman เป็นบิดาของคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว) แหม! พูดถึงมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซะยืดยาวเลย พักไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวหาใครที่กำลังเรียนแถวนั้นมาบรรยายสรรพคุณของ Stanford ต่อ ตอนนี้เข้าเรื่องกูเกิ้ลดีกว่าครับ เดี๋ยวกระดาษจะหมดซะก่อน

Sergey Brin (เซอร์จีย์ บริน)


เรื่ิิองก็เริ่มตอนปิดเทอมภาคฤดูร้อนปี 1995 ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้แหละครับ ตอนนั้น Sergey Brin (เซอร์จีย์ บริน) 1 ใน 2 ของผู้ก่อตั้ง กูเกิ้ล เป็นแค่นักเรียนปริญญาเอก ที่กำลังจะขึ้นปี 2 ของภาควิชา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science) ธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่อาสาเข้ามาเป็นนักศึกษาช่วยงาน Open House

โดยปกติทุกๆปีในช่วงก่อนเปิดเทอมนี้ มหาวิทยาลัยต่างๆเค้าจะมีการเปิดบ้านต้อนรับผู้มาเยือน เราเรียกว่า Open House (ที่เมืองไทยก็เห็นมีบ้างแล้วหลายมหาวิทยาลัย) คือว่าใครที่สนใจที่จะเรียนในมหาิวิทยาลัยไหน คณะไหน ก็จะไปงาน Open House ของที่นั่น ที่จะมีคนมาคอยพาทัวร์ และแนะนำสถานที่ แนะนำคณะ แนะนำ Lab แนะนำครูอาจารย์ เป็นปกติเหมือนทุกๆปี แต่ปีนี้เองพระเอกคนที่สองของเรา คือคุณ Larry Page (ลาร์รี่ เพจ) ก็โผล่มาในงาน Open House ในปีนี้ หลังจากได้ดีกรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (Michigan University) มาหยกๆ


Larry Page (ลาร์รี่ เพจ)


ทั้งสองเจอกันเพราะ Larry Page ไปอยู่ในกลุ่มทัวร์ ที่มี Sergey Brin เป็นหัวหน้ากลุ่มทัวร์พอดี

ดูท่าว่างานนี้ไม่ใช่รักแรกพบครับ เพราะระหว่างทางที่เดินทัวร์มหาวิทยาลัย และเมือง San Francisco อยู่ ทั้งสองคนนี้ก็มีเรื่องให้ถกเถียงกันได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องของการจัดผังเมืองของ San Francisco (??!!??)

Page เล่าให้ฟังว่าตอนนั้นเค้าจำได้ว่า Sergey Brin เป็นคนที่มีความคิดที่ค่อนข้างจะติดยึด เป็นคนที่ไม่ค่อยโสภาที่น่าจะอยู่ใกล้เท่าไหร่ ถ้าคิดว่าตัวเองถูกละก็จะเีถียงหัวชนฝา ซึ่งบังเอิญว่า ตัวเอง (Page) ก็เป็นคนแบบนั้น ส่วน Sergey ก็บอกว่าจริงๆแล้ว Larry ก็ออกจะแปลกๆอยู่เหมือนกันแหละ เถียงหัวชนฝา ไม่ค่อยยอมใคร (เอากันเข้าไป มิน่าหล่ะ เถียงกันได้ทั้งวัน)

เอาเป็นว่า ทั้งคู่ถกเถียงกันเรื่องต่างๆทั้งวันที่เดินทัวร์ แม้จะไม่ลงรอยด้วยดี แต่ทั้งคู่ก็จำกันได้ดีก่อนจะแยกจากกันในตอนเย็น (แหม! พล็อตยังกับหนังไทยเลยครับ พระเอกกับนางเอกเจอกันครั้งแรกจะต้องมีทะเลาะตบตี ต่างคนต่างบอกว่าเกลียด แต่ในใจคิดถึงอยู่)

อีก 2-3 เดือนถัดมา มหาวิทยาลัยก็เปิดเทอมครับ Page ก็เข้ามารายงานตัว และเลือก Prof. Terry Winograd ผู้เชี่ยวชาญด้านการโต้ตอบระหว่างคอมพิวเตอร์และมนุษย์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และก็เริ่มมองหาหัวข้อวิทยานิพนธ์



พ่อของ Larry Page (ขณะนั้นเป็นอาจารย์ด้าน Computer Science อยู่ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน) บอกว่า Thesis ปริญญาเอก จะเป็นเหมือนกรอบ ที่จะคอยกำหนดอนาคต ด้านวิชาการของเราไปทั้งชีวิต ก่อนจะตัดสินใจเลือกทำให้ไตร่ตรองให้ดี ทำให้ Page ใช้เวลาอยู่นานในการเลือกหัวข้อทำวิทยานิพนธ์ หลังจากลองนึกๆดูสิบกว่าเรื่อง สุดท้ายก็มาลงที่เรื่อง World Wide Web นี่เอง

และแล้วจุดเริ่มต้นของไอเดียเล็กๆ ก็กลายเป็นไอเดียที่เปลี่ยนโลกอินเตอร์เน็ตทั้งใบ จุดกำเนิดของยักษ์ใหญ่ในวงการซอฟท์แวร์อีกตน ก็เริ่มขึ้นที่นี่


ที่มา : วิชาการ.คอม

http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_Google